วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การทำตลาดแบบเกาหลี ตีความ-กระบวนการ-ความร่วมมือ บนความเชื่อในประเทศถ้าเราไม่มองเจ๊ตารี ขาวซีด ทาแก้มด้วยการเกลี่ยสีสด พูดจาโฮกฮาก ชนไม่เลี้ยง ลากชุดพองกลมกรอมเท้ากวาดขี้หมา หยิบจับอาหารด้วยมือแม้แต่ในวัง ห้องปราศจากเตียง ตั่ง แต่เป็นที่นั่ง-ที่นอน หากมองในมิติของละครเพียงอย่างเดียว ที่มีคนหน้าตาเรียวผิดบรรพชน เราอาจจะตีความหนังพวกนี่ว่าเป็นเรื่องกรี๊ดๆของวัยรุ่นฮือฮาเป็นคราวๆไป
 แต่ในมิติของการค้าแล้ว "แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง" ไม่ใช่แค่ "ละคร"
o มันคือหนึ่งใน "สินค้า" ทางวัฒนธรรมของเกาหลี
o "สินค้า" ที่เกิดขึ้นอย่างตั้งใจและมีกระบวนการวางแผนเป็นอย่างดีของรัฐบาลและภาคเอกชนของเกาหลี
 เป็นการสร้าง "ดีมานด์" ให้เกิดขึ้น
How
1. . ให้ละครหรือหนังเป็นผู้บุกเบิก
2. ใช้พลังทาง "ศิลปะ" ที่ทำให้คนเกิดจินตนาการคล้อยตาม
โปรดพิจารณา จุดนี้
1) ทำให้คนเกิดจินตนาการ
2) จินตนาการที่สร้างความคล้อยตาม
..ถือเป็นกลยุทธ์การท่องเที่ยวที่ขาย "STORY" และ "จินตนาการ" อย่างแท้จริง
..
... .. .. จากนั้น
3. สร้าง "ดีมานด์" ให้เกิดขึ้น
โปรดพิจารณา จุดนี้
1) เมื่อ "ดีมานด์" เกิด "ซัพพลาย" ก็ตามมา
4. เลือกเรื่องที่จะเล่า(เป็น tools) – เลือกกสนเล่าผ่านละคร เลือกเรื่องที่จะเล่า เลือกวิธีเล่า เลือกวิธีแทรกเรื่องที่ต้องการ เลือกจุด/ช่วงที่จะแทรก/เลือกความหน่วงในการแทรกเรื่อง-จะพาไปไกลจากปมละครแค่ไหน อย่างไร เช่น
4.1 แดจังกึม ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการทำอาหารของเกาหลี
4.1.1 กระแสที่เกิดขึ้น-คือแฟนละครในประเทศนั้นสนใจอาหารเกาหลีมากขึ้น
4.1.2 อยากชิม อยากกินอาหารเกาหลี
4.1.3 จึงถือเป็นผู้ขยายตลาด "อาหารเกาหลี" ในต่างประเทศอย่างแท้จริง
4.2 ละคร Winter Love Song
4.2.1 สร้างกระแส "ฟีเวอร์" ในญี่ปุ่นและประเทศต่างๆ
4.2.2 แฟนละครโหยหาทิวทัศน์ความโรแมนติคของสถานที่ที่ใช้เป็นฉากหนัง
4.2.3 อยากเห็น อยากสัมผัส

5. เมื่อสร้าง "ดีมานด์" ให้เกิดได้.................................. "ซัพพลาย" จะสนองตอบ
การสร้าง อิทธิพลของ "ละคร"
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกาหลีจะเกิดธุรกิจใหม่ขึ้นมา คือ ธุรกิจทัวร์ตามรอยละครดังเป็นทัวร์รูปแบบใหม่ เรียกกันว่า "Drama Tour"

5.1 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเกาหลีฟูเฟื่องขึ้นเพราะเกิด "จุดขาย" ใหม่ คือ สถานที่ในฉากละคร
5.1.1 แค่เปียโนที่ "จุงซาน" พระเอกเล่นในละครก็มีคนอยากไปนั่งเล่นบ้าง
นี่คือ อิทธิพล
5.1.1.1 "ละคร" สามารถทำให้ห้องที่ "เปียโน" ตัวนั้นตั้งอยู่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้
5.1.1.2 เที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความทรงจำเกี่ยวกับความรักของ "พระเอก-นางเอก" ในละครเรื่องนี้
5.1.1.3 นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้น เช่น Cine/Studio เป็นสถานที่บรรจุเรื่องราวของหนังและละครเกาหลีที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง


6. ถือเป็นกลยุทธ์การท่องเที่ยวที่ขาย "STORY" และ "จินตนาการ" อย่างแท้จริง

7. ทำ "โลกแห่งมายา" ให้เป็น "โลกเสมือนจริง"

8. เกิดความสำเร็จในตลาดเอเชีย โดยสร้าง
9. ความต้องการให้ระเบิดขึ้นในญี่ปุ่นเป็นชาติแรก(หลังละครและหนังเกาหลีตีตลาดญี่ปุ่นสำเร็จ นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นแห่ไปเที่ยวเกาหลีเพิ่มมากขึ้น
10. คนที่คลั่งไคล้ในละครเรื่องใดก็สามารถเข้าไปชมฉากละครและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกได้
พลังของ "สินค้าวัฒนธรรม"


ทำไมเกาหลีใช้วิธีนี้
Why
1. ประเทศเกาหลีไม่ค่อยจะมีทรัพยากรธรรมชาติด้านการท่องเที่ยวมากนัก
2. เกาหลีต้องฃงที่จะส่งออกสินค้าวัฒนธรรมเพื่อทำให้เกาหลีเป็นที่รู้จักมากขึ้น
3. เป็นการเรียกเงินคืนจากการลงทุน(ส่งเสริม+โปรโมทหนัง)
4. เป็นการทำให้เกาหลีเป็นที่รู้จักในประเทศต่างๆ
5. เกิดความรู้จัก –เชื่อใจสินค้าเกาหลีมากขจึ้น เช่น—
5.1 สินค้าเกาหลีอย่างซัมซุงหรือแอลจี คนประเทศอื่นก็หันมาสนใจใช้มากขึ้น
5.2 ดาราดังๆ อย่าง วอนบิน และ แบ ยอง จุง ก็ทำให้คนต่างประเทศรู้จักเกาหลีมากขึ้น
5.3 มีทัวร์มาลงเยอะมากโดยเฉพาะญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเที่ยวเยอะจริงๆ บางครั้งต้องใช้เครื่องบินโดยเฉพาะเพื่อรับทัวร์มาลง"
WOW!!
1. "ละคร" ไม่ใช่แค่เพียง "สินค้า" ส่งออกที่ทำรายได้มหาศาลให้เกาหลี
2. เจาะตลาดเฉพาะและตลาดเอเชี่ยน โดยแยกเป็น ตลาดอาเซียน จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น
3. เป็น "สื่อโฆษณา" ให้กับสินค้า สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณีของเกาหลีอีกด้วย

-- "วัฒนธรรมประเพณี" ได้กลายเป็น "สินค้า" ที่ทำรายได้ให้กับเกาหลีได้ถึง 10% ของมูลค่าธุรกิจทั้งหมดของเกาหลี สินค้าวัฒนธรรมประเพณีของเกาหลี คือ หนัง ละคร เกมออนไลน์ เพลง การ์ตูน นิยาย ฯลฯ

What’s up 1

1. การบุกตลาดสินค้าวัฒนธรรมประเพณีของเกาหลี ไม่ได้เกิดจากภาคเอกชนอย่างเดียว-แต่เป็นยุทธศาสตร์ของประเ
2. แปร "วัฒนธรรม" ให้เป็น "ธุรกิจ"
3. มีธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ ที่ได้รับผลพวงจากความสำเร็จของละครและหนัง
4. เกาหลีมีกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ในกระทรวงนี้จะมีหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ดูแลสินค้าด้านวัฒนธรรม เช่น เกม การ์ตูน เพลง หนัง ละคร ฯลฯ ชื่อ KOCCA
5. KOCCA มีหน้าที่สนับสนุนการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีไปต่างประเทศ

What’s up 2

1. สหรัฐอเมริกาเคยใช้ "หนังฮอลลีวู้ด" สร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ
a. หนังฮอลลีวู้ดทำให้คนไทยได้รู้จักไลฟ์สไตล์ตะวันตก/ทำให้รู้จักอาหารฟาสต์ฟู้ด/รู้จักรถยนต์รุ่นใหม่/และคุ้นเคยกับ "โค้ก-เป๊ปซี่-และยีนส์"
2. ละครเกาหลีกำลังทำให้คนไทยและคนเอเชียคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของเกาหลีมากขึ้น/แต่เป็นการสร้างความคุ้นเคยแบบ
a. "ตั้งใจ" อย่างยิ่ง
b. ตั้งใจสร้าง "ดีมานด์"
c. "ตั้งใจ" ทำให้ระบบธุรกิจของสินค้าวัฒนธรรมประเพณีเคลื่อนตัวต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น