วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ไม่หวั่นไหว
พระอโษภยพุทธเจ้า
(Aksobhya Buddha)
พระหฤทัยคาถาประจําพระองค์
โอม อะโษภยะ หูม หูม ผฏ
พระพุทธเจ์าพระองค์นี้มีพระนามแปลว่า ไม่หวั่นไหว ด้วยไม่โทสะและ
ไม่อาฆาต โดยทรงมีอีกพระนามหนึ่งว่า “พระอจลตถาคต” แปลว่า
พระพุทธเจ้าผู้ไม่หวั่นไหว ในคัมภีร์มหารัตนกูฏสูตร กล่าวว่า “เนื่องจากสมัยที่ทรง
เริ่มมีพระโพธิจิต ทรงมีวิริยภาพเป็นที่สุด และมิเคยเกิดโทสะเคืองโกรธต่อบรรดา
สรรพสัตว์เลย แลโทสะนั้นก็มิอาจทําให้พระองค์หวั่นไหวได้” จึงเป็นเหตุแห่งพระนาม
นี้
พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในสมาชิกพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ของนิกาย
วัชรยาน และทรงประทับอยู่ทางทิศตะวันออก มีพระวรกายสีน้ำเงินเข้ม ประทับนั่งท่า
มารวิชัย อันมีความหมายว่าทรงชนะมารทั้งปวง หรือบ้างก็ให้เหตุผลว่าการที่ทรงแตะ
พระดัชนีเบื้องพระหัตถ์ขวาลงที่แผ่นดิน เรียกว่า ปางภูมิสปรศมุทรา หมายถึงความ
มั่นคง มิหวั่นไหวซึ่งเป็นนัยยะตามคุณสมบัติแห่งนามของพระองค์เอง และทรงมีพระ
มหาโพธิสัตว์สาวกในวัชรธาตุมณฑล ๔ พระองค์คือ ๑.วัชรสัตว์โพธิสัตว์ ๒.วัชรราชา
โพธิสัตว์ ๓.วัชรราคโพธิสัตว์ ๔.วัชรสาธุโพธิสัตว์
ตามอรรถของคัมภีร์ทางคุยหยาน(ยานลึกลับ ต่อมาเรียกอีกชื่อว่า
วัชรยาน) กล่าวว่าพระอโษภยพุทธเจ้า เป็นองค์แทนของโพธิจิตที่แข็งแกร่งมิหวั่นไหว
แสดงถึงพระมหาปัญญาญาณที่เปรียบเทียบกับกระจกเงาบานใหญ่ สามารถส่อง
สะท้อนถึงมูลภาวะโพธิจิตเดิมที่บริสุทธิ์ได์ และทรงมีพระโพธิสัตว์ประจําพระองค์อีก
คือ พระวัชรปาณิโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์
อ้างถึง คัมภีร์กรุณาปุณฑริกสูตร และคัมภีร์มหารัตนกูฏสูตร ที่ว่า
“พระอโษภยพุทธเจ้าเมื่ออดีตชาติเคยเสวยพระชาติเป็นราชบุตร และเป็นภิกษุ ทรงได้
ประกาศมหาปณิธานเฉพาะเบื้องพระพักตร์แห่งพระรัตนครรภ์พุทธเจ้า
และพระวิรูปักษ์พุทธเจ้าตามลําดับ ว่าจักทรงชําระพุทธเกษตร โปรด
สรรพสัตว์ โดยประกาศพระมหาปณิธานไว้ ๒๐ ประการ ดังนี้…
๑. สรรพกุศลที่บําเพ็ญทั้งหมดขออุทิศแด่พระโพธิญาณ
๒. จักมิบังเกิดจิตโกรธแค้นต่อสรรพสัตว์
๓. สรรพวจีและมโนระลึกจักมีโยคะต้องกันกับพระพุทธะทั้งปวง
๔. จักมิเกิดจิตของสาวกและปัจเจกโพธิ
๕. ขอให้ทุกชาติได้ออกบวชเพื่อบําเพ็ญธุดงควัตร
๖. มีปฏิภาณไร้ซึ่งอุปสรรคขวางกั้นในการแสดงธรรม
๗. จักบําเพ็ญในอิริยาบทยืน เดิน นั่งทั้ง ๓ ประการโดยนิจศิล
๘. จักมิละเมิดในกรรมอันเป็นมูลฐาน
๙. จักมิเลื่อมใสในมิจฉาศาสตร์นอกรีต
๑๐. จักบริจาคทรัพย์เป็นทานด้วยจิตที่เสมอภาพ
๑๑. เมื่อพบสรรพสัตว์ต้องอาญาประหารชีวิต จักขอวางเฉยในชีวิตของตนเพื่อปกป้องชีวิตสัตว์อื่น
๑๒. แสดงธรรมต่อสตรีด้วยสัมมาจิตที่ตั้งมั่นดีงาม
๑๓. มิกล่าวแสดงซึ่งความผิดและความชั่วของพุทธบริษัท ๔
๑๔. ได้พบโพธิสัตว์ผู้บําเพ็ญจริยา ก็ให้มีจิตคารวะดุจพบพระพุทธองค์
๑๕. มิเกิดราคะแม้ในความฝัน
๑๖. เมื่อคราสําเร็จพระพุทธญาณแล้ว ขอให้โลกธาตุวิสุทธิอลังการบรรดาสาวกล้วนแล้วไร้ซึ่งความพลาดผิด
๑๗. บรรดาโพธิสัตว์ในโลกธาตุแห่งนั้น ที่ได้ออกบวชในจิตมิเกิดราคะแม้ในความฝัน
๑๘. บรรดาสตรีในโลกธาตุแห่งนั้น ไร้ซึ่งมลทินและความพลาดผิดทั้งปวง
๑๙. บรรดาโพธิสัตว์ทั้งปวงในโลกธาตุแห่งนั้นเมื่อได้สดับฟังธรรมแล้ว จักได้น้อมรับปฏิบัติ และสมบูรณ์ในธรรมกาย
๒๐.ในโลกธาตุแห่งนั้นตัดขาดสิ้นจากการกระทําของมาร และมิอาจกระทบจิตใจได้
พระอโษภยพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาปณิธานที่ลึกซึ้งและแข็งแกร่งยิ่งนัก ดังมีคําอธิฐานหนึ่งของพระองค์ในคัมภีร์อาคมสูตรว่า “สมมติว่าอากาศจะมีสภาพที่แปรเปลี่ยนไป แต่ปณิธานของเรานั้นล้วนจักมิเสื่อมถอยย้อนกลับ” มีนัยยะ…………….ว่าความตั้งพระทัยของพระองค์จักมิอาจเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากสภาวะของอากาศที่สามารถแทรกซึมไปได้ในทุกสรรพสิ่ง ไร้สี ไร้กลิ่นก็มีสภาพอยู่เช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง แล้วจะกล่าวไปไยกับพระปณิธานของพระองค์
ในพระสูตรมหายานเล่มเดียวกัน กล่าวไว้ว่า “พระรัตนครรภ์พุทธเจ้าและพระวิรูปักษ์พุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ล้วนแต่ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาลจะได้สําเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า “อโษภยะ” เหตุด้วยทรงมีพระคุณธรรมคือความมิ
โกรธเคืองและมิไหวหวั่น
พระอโษภยทรงดําเนินพระจริยา ในการมิทําร้ายสรรพสัตว์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่มีบ่อเกิดมาจากความโกรธ อีกทั้งจักทรงสั่งสอนสรรพสัตว์จนถึงที่สุด จักทรงยังให้สรรพสัตว์ได้สมปรารถนา และวางเฉยในความโกรธ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
• ลูกหลานของหลวงปู่จะมีความเห็นแก่ตัวไม่ได้มีทิฐิถือตัวถือตน มียศมีศักดิ์หยิ่งยโสไม่ได้
• เพราะถ้ายังมีสิ่งเหล่านั้นอยู่ เขาจะเข้าถึงสัจธรรม คุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรมไม่ได้
• คนคับแคบ เย่อหยิ่ง จองหอง ยโส รอวันตายอย่างเดียว
• กลิ่นอายและรสชาติถ้อยคำของผู้มีความจริงใจ จะผิดกับกลิ่นอายของผู้ไม่จริงใจ มีแต่มารยา วิชาการ ผิดกันราวกับฟ้าและเหว
• ขอเพียงพวกท่านมีความจริงใจ มีความเป็นธรรมชาติ ท่านจะได้เป็นพระโพธิสัตว์
• เป็นลูกหลานของชาวศากยะ ดูอย่างพระพุทธเจ้าเป็นที่รักของเทวดาพรหม มาร เปรต และอสุรกาย ทรงยิ่งใหญ่ในหัวใจของทุกคนและของตัวเอง ดังนั้น จงให้เขาก่อนแล้วจะได้รับ
- โพธิจิต โพธิวิถี โพธิธรรม หลวงปู่พุทธะอิสระ -
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น